الاثنين، 26 يناير 2009


ปรากฎการณ์สุริยคราส

เมื่อเวลา 15.53 น. วันที่ 26 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่ประเทศไทยจะสามารถเห็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบวงแหวนเพียงบางส่วนได้ทุกภูมิภาคในวันนี้ โดยในกรุงเทพฯ ดวงจันทร์จะเริ่มเคลื่อนเข้าสู่สัมผัสที่ 1 ในเวลาประมาณ 15.53 น. และสิ้นสุดเวลาประมาณ 17.58 น. นั้น ปรากฏว่าเริ่มเห็นเงาดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์มุมด้านซ้ายล่างในช่วงหลังเข้าสู่สัมผัสแรก และค่อยๆเคลื่อนเข้ามาเรื่อยๆ โดยในช่วงเวลา 16.59 น. ดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์บทบังมากที่สุด จากนั้นจะค่อยๆคลายออกจนสิ้นสุดเวลา 17.58 น. ดังกล่าว ทั้งนี้ ปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบวงแหวนเพียงบางส่วนจะเกิดนานที่สุดในจังหวัดนราธิวาส ประมาณ 2 ชั่วโมง 22 นาที อย่างไรก็ตาม หากใครพลาดชมปรากฏการณ์ครั้งนี้จะสามารถชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบเต็มดวงได้อีกครั้ง ในวันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2552 สำหรับการดูสุริยุปราคาที่ถูกต้อง จักษุแพทย์เตือนว่าจะต้องมองผ่านแผ่นฟิล์มชนิดพิเศษที่ใช้ในการมองดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายกล้องทั่วไป หรือร้านขายอุปกรณ์ดาราศาสตร์โดยต้องตรวจดูด้วยว่าสามารถกรองแสงได้ดีหรือไม่ หากไม่มืดสนิท มีรูหรือมีรอยขีดข่วนจนแสงผ่านได้ ไม่ควรนำมาใช้ สำหรับการดูผ่านฟิล์มเอ็กซเรย์ ฟิล์มขาวดำหรือกระจกรมควัน ถือว่ายังไม่มีความปลอดภัยเพียงพอ หากจะใช้ควรเพิ่มเป็น 2 ชั้น เพื่อกรองแสงให้มากที่สุด ส่วนอุปกรณ์ที่ไม่ควรนำมาใช้เลยได้แก่ แว่นกันแดด เพราะมีความดำไม่เพียงพอ ขณะที่กล้องส่องทางไกลก็ไม่ควรนำมาใช้เช่นกัน เพราะเป็นการรวมแสงเข้าสู่ตาโดยตรง ซึ่งเป็นอันตรายมาก และหากหลังชมปรากฏการ์สุริยุปราคาแล้วเริ่มมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ขอให้รีบพบแพทย์โดยด่วน

ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ยากจะเกิดขึ้น กำลังจะเริ่มต้น "สุริยุปราคาเต็มดวง" เกิดขึ้นอีกครั้ง ใน วันที่ 26 มกราคมนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาดีที่ท้องฟ้าเปิด และตรงกับ "วันตรุษจีน" "สุริยุปราคา" ปรากฏการณ์ซึ่งเกิดจากดวงจันทร์ และโลกโคจรมาอยู่ในแนวเดียวกับดวงอาทิตย์เรียงตัวกันเป็นเส้นตรง ทำให้มองเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์เต็มดวง หรือเป็นบางส่วน สุริยุปราคาเป็นปรากฏการณ์ซึ่งหาดูได้ยาก เนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์เอียงทำมุม 5 องศา กับวงของโคจรของโลก โอกาสที่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกจะอยู่ในระนาบเดียวกันจึงไม่เกิดขึ้นทุกเดือน ประกอบกับดวงจันทร์มีขนาดเล็กและโลกหมุนรอบตัวเองอยู่ตลอดเวลา ทำให้เงาของดวงจันทร์ทาบไปยังพื้นโลกไม่ซ้ำที่กัน โอกาสที่จะเห็นสุริยุปราคาในประเทศไทยจึงมีไม่มากนัก การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนั้น จะเริ่มต้นด้วยการเกิดสุริยุปราคาบางส่วนก่อน คือ การที่ดวงจันทร์เริ่มต้นโคจรเข้ามาบังดวงอาทิตย์ทีละน้อยๆ ต่อเมื่อดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมดดวง จึงจะเป็นสุริยุปราคาเต็มดวง แต่ในบริเวณที่อยู่เหนือขึ้นไปหรือใต้แนวที่ถูกทำให้มืดลงมา ซึ่งจะเห็นเฉพาะสุริยุปราคาบางส่วนก็จะไม่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวง คงจะเห็นแต่สุริยุปราคาบางส่วนไปตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดปรากฏการณ์ เพราะสุริยุปราคาบางส่วนจะมีเฉพาะสัมผัสที่ 1 และ 4 เท่านั้น การสัมผัสของดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ในขณะเกิดสุริยุปราคา มี 4 จังหวะด้วยกัน คือ 1. สัมผัสที่ 1 (First Contact) เป็นจุดเริ่มต้นที่ดวงจันทร์เริ่มเข้าบดบังดวงอาทิตย์ 2. สัมผัสที่ 2 (Second Contact) เป็นจุดเริ่มต้นที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ได้มิดหมดดวง 3. สัมผัสที่ 3 (Third Contact) เป็นจุดสุดท้ายที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์มิด 4. สัมผัสที่ 4(FourthContact)เป็นจุดสุดท้ายก่อนที่ดวงจันทร์จะหลุดพ้นออกจากดวงอาทิตย์ ระยะเวลาการเกิดว่าจะกินเวลานานเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่ที่ว่าขณะเกิดปรากฏการณ์นั้น ดวงอาทิตย์อยู่ใกล้หรือไกลจากโลกเพียงใด ถ้าดวงอาทิตย์อยู่ใกล้โลกมากขนาดของดวงอาทิตย์จะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ในขณะที่ขนาดปรากฏของดวงจันทร์ก็โตกว่าขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์เพียงเล็กน้อย การเกิดสุริยุปราคาก็จะกินเวลาสั้น อาจไม่ถึง 2 นาที แต่ถ้าขณะนั้นดวงอาทิตย์อยู่ไกลจากโลกมาก ขนาดที่ปรากฏจึงเล็กกว่าปกติ ในขณะเดียวกันดวงจันทร์ก็อยู่ใกล้โลก (ใกล้ที่สุดประมาณ 348,000 กิโลเมตร และไกลที่สุดประมาณ 400,000) ขนาดปรากฏของดวงจันทร์จึงใหญ่กว่าขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์มาก ผลก็คือดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์กินเวลามืดมิดนานที่สุดเท่าที่บันทึกไว้ คือ การเกิดสุริยุปราคาแบบวงแหวน เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2534 ซึ่งเห็นได้ชัดเจนที่ออสเตรเลียตะวันตก, นิวซีแลนด์และมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ซึ่งกินเวลาถึง 7 นาที 55 วินาที แต่ประเทศไทยไม่มีโอกาสได้เห็นปรากฏการณ์ครั้งนี้ และการคำนวณของนักดาราศาสตร์ การเกิดสุริยุปราคาที่จะกินเวลานานที่สุดซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคต คือ ในวันที่ 26 มกราคม ปี พ.ศ.2552 จะเกิดสุริยุปราคาแบบวงแหวน เห็นได้ชัดที่มหาสมุทรแอตแลนติกใต้, มหาสมุทรอินเดีย และประเทศอินโดนีเซียจะกินเวลานานถึง 7 นาที 56 วินาที ซึ่งในประเทศไทยมีโอกาสได้เห็นปรากฏการณ์ครั้งนี้บางส่วนเท่านั้น ในประเทศไทย การเกิดสุริยุปราคามีขึ้นไม่บ่อยนัก แต่เชื่อกันว่ามีสุริยุปราคาที่เกิดขึ้น และเห็นได้ในประเทศไทยหลายครั้งด้วยกัน เท่าที่มีการบันทึกไว้พออ้างอิงได้ คือ สุริยุปราคาที่เกิดในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 2 ครั้งด้วยกัน ซึ่งพระองค์เสด็จทอดพระเนตรร่วมกับบาทหลวงเยซูอิต ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ และได้นำความรู้ทางดาราศาสตร์สมัยใหม่เข้ามาเผยแพร่และดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาในสมัยนั้น ในครั้งเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2228 เป็นสุริยุปราคาเต็มดวง เสด็จทอดพระเนตรที่เมืองละโว้ และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2231 ซึ่งเป็นสุริยุปราคาบางส่วน สันนิษฐานว่าเสด็จทอดพระเนตร ณ พระตำหนักเย็น ทะเลชุบศร ทั้ง 2 ครั้ง โดยทอดพระเนตรภาพดวงอาทิตย์บนฉากที่รับภาพจากกล้องโทรทรรศน์ที่บาทหลวงตั้งถวายให้ทอดพระเนตร หลังจากนั้น ประเทศไทยก็ว่างจากข่าวคราวการเกิดสุริยุปราคา จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถทางด้านดาราศาสตร์ โดยทรงศึกษาวิชาการด้านนี้ด้วยพระองค์เองจากตำราโหราศาสตร์ไทยและตำราโหราศาสตร์สากล ที่ทรงสั่งซื้อจากต่างประเทศ ทรงวัดเส้นรุ้งเส้นแวงด้วยพระองค์เองทรงคำนวณว่าจะเกิด สุริยุปราคาเต็มดวง ที่บ้านคลองลึกตำบลหว้ากอ อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 ได้อย่างแม่นยำ ทั้งๆ ที่ทรงคำนวณไว้ล่วงหน้าถึง 2 ปี โดยทรงใช้กล้องโทรทรรศน์ส่วนพระองค์ในการทอดพระเนตร ทำให้พระองค์ทรงได้รับการยอมรับจากนานาอารยประเทศ และทรงได้รับการยกย่องว่าทรงเป็น "พระบิดาแห่งดาราศาสตร์ไทย" และในวันนี้คือวันที่ 18 สิงหาคม ก็ได้รับการกำหนดให้เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" ของทุกปี การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในครั้งนี้ จึงนับว่ามีความสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยเหตุการณ์หนึ่งทีเดียว การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงอีกครั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2418 กินเวลามืด 4 นาที 42 วินาที เห็นชัดที่แหลมเจ้าลาย จ.เพชรบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2472 เป็นสุริยุปราคาเต็มดวง กินเวลามืดนาน 6 นาที เห็นได้ชัดที่อำเภอโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และในสมัยรัชกาลปัจจุบันเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง 2 ครั้งด้วยกัน คือ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2498 เห็นได้ชัดที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอีกหลายจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพฯ ด้วย กินเวลามืดนาน 6 นาที และครั้งที่ 2 ซึ่งกินเวลาห่างกันถึง 40 ปี คือ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2538 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงซึ่งเห็นได้ชัดในหลายจังหวัดของประเทศไทย นานเกือบ 2 นาที โดยจังหวัดที่เห็นได้ชัดเจนและมากอำเภอที่สุด คือจังหวัดนครสวรรค์ ครั้งต่อไปที่ประเทศไทยจะมีโอกาสได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้อีก คือ ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2613 หรืออีก 75 ปีข้างหน้า โดยเงามืดจะเคลื่อนผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
อย่างไรก็ตาม นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต นักดาราศาสตร์ไทย กล่าวว่า จากที่จะเกิดปรากฏการณ์ด้านดาราศาสตร์สุริยคราสบางส่วนในประเทศไทยในวันที่ 26 มกราคมนี้ โดยจะเริ่มเห็นได้ทั่วประเทศไทยตั้งแต่เวลาเฉลี่ย 15.50 น. สิ้นสุดเวลา 17.50 น. ซึ่งพื้นที่ภาคใต้จะเห็นส่วนเว้าแหว่งบนดวงอาทิตย์มากที่สุด ทั้งนี้ นักดาราศาสตร์ไทย กล่าวอีกว่า ที่หอดูดาวบัณฑิต ตลาดบางบ่อ อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ได้นำกล้องโทรทัศน์ จำนวน 5 ตัว ติดตั้งแผ่กรองแสงให้ผู้สนใจได้ชมสุริยคราสบางส่วน พร้อมกับเตรียมบันทึกภาพปรากฏการณ์ดังกล่าว เพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษา รวมถึงที่โรงเรียนไผแก้ววิทยา อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ได้จัดกิจกรรมนำนักเรียนชมปรากฏการณ์โดยนำกล้องโทรทัศน์ขนาด 9 เศษ 1ส่วน 4 นิ้ว และขนาด 4 นิ้ว รวม 2 ตัว พร้อมแผ่นกรองแสงให้นักเรียนได้ศึกษาสุริยคราสบางส่วนนี้ด้วยเช่นกัน นายวรวิทย์ กล่าวเพิ่มว่า สำหรับการชมปรากฏการณ์สุริยคราสนี้ ห้ามสังเกตุการณ์ด้วยตาเปล่าเด็ดขาด ควรดูผ่านกระจกรมควันหนาๆ แบบโบราณส่องดู และห้ามส่องดูนานๆ เพราะจะมีผลต่อสุขภาพตาได้ ขณะที่ น.พ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับปรากฏการณ์สุริยุปราคาที่จะเกิดขึ้นวันที่ 26 มกราคม และ 22 กรกฎาคม ว่า แม้ประเทศไทยจะเห็นเพียงบางส่วนแต่เนื่องจากตรงกับวันตรุษจีนจึงคาดว่าจะมีผู้ให้ความสนใจชมกันมากเป็นพิเศษ ซึ่งต้องระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นด้วย เนื่องจากแสงของดวงอาทิตย์มีความร้อนสูงและมีรังสีอุลตร้าไวโอเลต สามารถทำลายเซลล์ในจอประสาทตาบริเวณจุดรับภาพได้ น.พ.ฐาปนวงศ์ กล่าวว่า การดูสุริยุปราคาให้ปลอดภัยต่อดวงตา ควรดูเฉพาะตอนที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเท่านั้น เพราะเป็นช่วงที่แสงจ้าน้อยที่สุดและใช้เวลาไม่เกิน 10 วินาที โดยหยุดมองก่อนสิ้นสุดการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเล็กน้อย ไม่ควรดูสุริยุปราคาในขณะที่กำลังคลายออก เนื่องจากดวงตามีโอกาสได้รับคลื่นความร้อนและรังสีอุลตร้าไวโอเลตจากแสงอาทิตย์ได้มาก ทำให้จอประสาทตาเสื่อมได้ โดยอาการสำคัญ คือ ตาพร่ามัว เห็นภาพบิดเบี้ยว หรือมองเห็นจุดดำอยู่ตรงกลางภาพ อาจมีอาการสู้แสงไม่ได้ หรือปวดศีรษะบริเวณหว่างคิ้วหรือหลังลูกตา ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดหลังจากจ้องดูสุริยุปราคาไปแล้ว 1 ชั่วโมง และจะดีขึ้นภายใน 1 เดือน หรืออาจนานถึง 6 เดือน การที่ดวงตาได้รับรังสีอุลตร้าไวโอเลตโดยตรงจะส่งผลเสียในระยะยาว คือ ทำให้จอประสาทตาเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป หรืออาจถึงขั้นตาบอดได้ ทั้งนี้ผู้มีปัญหาเรื่องสายตาอยู่แล้ว เช่น โรคต้อกระจก โรคตาแห้ง เยื่อบุตาอักเสบเรื้อรัง ห้ามดูสุริยุปราคาเด็ดขาด แม้จะใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานก็ตาม เพราะจะทำให้อาการของโรคที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากคลื่นความร้อนจากรังสีอุลตร้าไวโอเลตจะทำลายที่จอประสาทสำหรับภาพโดยตรง เรียกว่า เรติน่า เบิร์น (Retina burn) ส่งผลให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น วิธีการดูสุริยุปราคาที่ถูกต้อง จะต้องมองผ่านแผ่นฟิล์มชนิดพิเศษ ที่ใช้ในการมองดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายกล้องทั่วไป หรือร้านขายอุปกรณ์ดาราศาสตร์โดยต้องตรวจดูด้วยว่าสามารถกรองแสงได้ดีหรือไม่ หากไม่มืดสนิท มีรูหรือมีรอยขีดข่วนจนแสงผ่านได้ ไม่ควรนำมาใช้ สำหรับการดูผ่านฟิล์มเอ็กซเรย์ ฟิล์มขาวดำหรือกระจกรมควัน ถือว่ายังไม่มีความปลอดภัยเพียงพอ หากจะใช้ควรเพิ่มเป็น 2 ชั้น เพื่อกรองแสงให้มากที่สุด ส่วนอุปกรณ์ที่ไม่ควรนำมาใช้เลยได้แก่ แว่นกันแดด เพราะมีความดำไม่เพียงพอ ขณะที่กล้องส่องทางไกลก็ไม่ควรนำมาใช้เช่นกัน เพราะเป็นการรวมแสงเข้าสู่ตาโดยตรง ซึ่งเป็นอันตรายมาก และหากหลังชมปรากฏการ์สุริยุปราคาแล้วเริ่มมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ขอให้รีบพบแพทย์โดยด่วน
สำหรับระยะช่วงเวลาที่เห็นสุริยคราสบางส่วนในแต่ละพื้นที่ดังนี้ กรุงเทพฯ เริ่มเข้าคราส 15. 53 น. คราสลึกสุด 16.59 น. โดยคราสจะสิ้นสุดเวลา 17.58 น. ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 33.1%, เชียงใหม่ เริ่มเข้าคราส 16.05 น. คราสลึกสุด 17.02 น. คราสสิ้นสุด 17.53 น. ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 18.7 % หนองคาย เริ่มเข้าคราส 16.02 น. คราสลึกสุด 17.02 น. คราสสิ้นสุด 17.56 น. ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 25.3 % อุตรดิตถ์ เริ่มเข้าคราส 16.02 น. คราสลึกสุด 17.01 น. คราสสิ้นสุด 17.55 น. ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 22.8% พิษณุโลก เริ่มเข้าคราส 16.00 น. คราสลึกสุด 17.01 น. คราสสิ้นสุด 17.56 น. ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 24.9% อุดรธานี เริ่มเข้าคราส 16.00 น. คราสลึกสุด 17.02 น. คราสสิ้นสุด 17.56 น. ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 26.6 % นครสวรรค์ เริ่มเข้าคราส 15.57 น. คราสลึกสุด 17.00 น. คราสสิ้นสุด 17.57 น. ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 27.25 % นครราชสีมา เริ่มเข้าคราส 15.55 น. คราสลึกสุด 17.00 น. คราสสิ้นสุด 17.58 น. ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 31.9% อุบลราชธานี เริ่มเข้าคราส 15.56 น. คราสลึกสุด 17.01 น. คราสสิ้นสุด 17.55 น. ดวงอาทิตย์ถูกบัง 34.7% ชลบุรี เริ่มเข้าคราส 15.52 น. คราสลึกสุด 16.59 น. คราสสิ้นสุด 17.59 น. ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 34.6% สุราษฎร์ธานี เริ่มเข้าคราส 15.42 น. คราสลึกสุด 16.56 น. คราสสิ้นสุด 17.59 น. ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 43.6 % ภูเก็ต เริ่มเข้าคราส 15.42 น. คราสลึกสุด 16.56 น. คราสสิ้นสุด 17.59 น. ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 43.6% สงขลา เริ่มเข้าคราส 15.39 น. คราสลึกสุด 16.54 น. คราสสิ้นสุด 18.00 น. ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 50.28 % ปัตตานี เริ่มเข้าคราส 15.38 น. คราสลึกสุด 16.54 น. คราสสิ้นสุด 18.00 น. ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 52.7 % ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา เริ่มเข้าคราส 15.52 น. คราสลึกสุด 16.59 น. คราสสิ้นสุด 17.59 น. ดวงอาทิตย์ ถูกบังไป 33.94 % ที่หอดูดาวบัณฑิตฉะเชิงเทรา เริ่มเข้าคราส 15.52 น. คราสลึกสุด 16.59 น. คราสสิ้นสุด 17.59 น. ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 34.40 %
สุริยุปราคาเต็มดวงหลังเกิดวันที่ 26 มกราคม 2552 จะเกิดอีกครั้งในวันที่ . . . - วันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2552 จะเกิด สุริยุปราคาวงแหวน เห็นได้ชัดที่แถบมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย กินเวลานาน 7 นาที 56 วินาที - วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2552 จะเกิด สุริยุปราคาเต็มดวง เห็นได้ชัดเจนที่ประเทศอินเดีย, ปากีสถาน, พม่า, จีน และแถบมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ กินเวลา 6 นาที 39 วินาที - วันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2553 จะเกิด สุริยุปราคาวงแหวน เห็นได้ชัดที่ทวีปแอฟริกากลาง, มหาสมุทรอินเดีย, ประเทศพม่า และจีน กินเวลานาน 11 นาที 10 วินาที - วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2559 จะเกิด สุริยุปราคาเต็มดวง เห็นชัดที่มหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิกเหนือ กินเวลานาน 4 นาที 09 วินาที - วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2562 จะเกิด สุริยุปราคาวงแหวน เห็นได้ชัดที่ประเทศอินเดีย, มหาสมุทรอินเดียและแถบมหาสมุทรแปซิฟิกทางตอนเหนือ กินเวลานาน 3 นาที 40 วินาที - วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2563 จะเกิด สุริยุปราคาวงแหวน เห็นชัดที่ทวีปแอฟริกากลาง, อินเดีย, จีน และแถบมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ กินเวลานาน 1 นาที 22 วินาที - วันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2565 จะเกิด สุริยุปราคาวงแหวน เห็นชัดที่มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิกทางตอนใต้ กินเวลานาน 1 นาที 16 วินาที
ส่วนปีที่จะเกิดสุริยุปราคา และเห็นได้ชัดในประเทศไทยจากการคำนวณ คือในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2585 ในอีก 42 ปีข้างหน้า เราจะได้เห็นสุริยุปราคาวงแหวนที่เกิดบริเวณมหาสมุทรอินเดีย,ในประเทศไทย, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยเห็นชัดเจนทางภาคใต้ของประเทศส่วนสุริยุปราคาเต็มดวงในประเทศไทย จะได้เห็นในอีก 75 ปีข้างหน้า คือ ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2613

ليست هناك تعليقات:

إرسال تعليق