الثلاثاء، 6 يناير 2009

การทำเด็กหลอดแก้ว

อณุญาติหรือไม่ในการผสมเทียมภายนอกมดลูก..?

ตอบ..โดย ดร.อะฎอ อับดุลอาฎี อัซซันบาฎี อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย อัลฮัซฮัร

ขอชุโก๊รต่อเอกองค์อัลลอฮ์ซุบฮ์ฯที่พระองค์ได้ทรงสรรค์สร้างมนุษย์ขึ้นมาในรูปทรงที่สง่างามและภูมิฐานยิ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกสร้างที่ประเสริฐและมีเกียรติที่สุด โดยมนุษย์ได้รับเกียรติจากการที่พระองค์ได้รับทรงใช้มวลมลาอิกะห์ทำการคารวะต่อท่านบีอาดำ อะลัยฮิสสลาม พระองค์ได้ทรงสอนให้มนุษย์ได้รู้และ เขาใจในสิ่งที่พวกเขาไม่เคยรู้มาก่อนโดยมนุษย์มีสติปัญญาที่จะพิจารณาและวิเคราะห์บรรดาสรรพสิ่งทั้งหลายที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมา เพื่อที่จะได้รู้ถึงอำนาจของผู้สร้างที่แท้จริง

ในโลกปัจจุบันของเรานี้มีสิ่งที่แปลกใหม่เกิดขึ้นมากมาย อันเนื่องมาจากสติปัญญาของมนุษย์ทีได้ใช้ในประดิษฐ์คิดค้นหาวิธีการใหม่ๆขึ้นมา เพื่อที่จะไห้เกิดความสะดวกสบายต่อการใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้ถึงแม้ว่าศาสนาจะส่งเสริมให้มนุษย์ใช่สติปัญญาในการคิดประดิษฐ์ ก็จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงสิ่งที่เป็นข้อห้ามทางบทบัญญัติด้วยในสิ่งที่เขาคิดประดิษฐ์ขึ้นมานั้น เช่นในเรื่องของวิทยาศาสตร์และการแพทย์ได้มีการประดิษฐ์คิดค้นการทำโคลนนิ่ง การผสมเทียมและการทำเด็กหลอดแก้ว ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการดังกล่าวให้สอดคล้องกับบทบัญญัติที่พระองค์อัลลอฮ์ ซุบฮ์ฯ ได้ทรงกำหนดไว้

ดังนั้นสิ่งที่ผมจะกล่าวในที่นี้ก็คือ ฮุกุ่มของการผสมเทียมภายนอกมดลูกหรือที่รู้จักกันในคำว่า (เด็กหลอดแก้ว) ซึ่งวิทยาศาสตร์และการแพทย์ได้นำเอาวิธีการนี้มาใช้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติได้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยที่จะให้ได้มาซึ่งทายาทของเขา

การผสมเทียมมี2ประเภท

1.การผสมเทียมภายในมดลูก

2.การผสมเทียมภายอกมดลูก

การผสมเทียมภายในมดลูก คือการนำเอาเสปิร์มของเพศชายมาผสมกับไข่ของเพศหญิงภายในระบบสืบพันธุ์ขอบเพศหญิง

การผสมเทียมภายอกมดลูก (เด็กหลอดแก้ว) คือการนำเอาเสปิร์ม(อสุจิ)ของ

เพศชายมาผสมกับไข่ของเพศหญิงภายนอกระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงในห้องแล็ป(ห้องทดลอง)

ในการผสมเทียมใน2รูปแบบนี้จะไม่ทำให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตได้ นอกจากว่าจะต้องเอาเสปิร์มที่ผสมกับไข่แล้วนั้นนำกลับฝังไว้ในมดลูกของเพศหญิงเพื่อให้วิวัฒนาการของการเจริญเติบโตจนกระทั่งถึงกำหนดเวลาของการคลอด

สาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการผสมเทียมภายนอกมดลูกก็คือความผิดปกติของท่อรังไข่ซึ่งเป็นสาเหตุที่สเปิร์มไม่สามรถเข้าไปผสมกับไข่ได้ โดยที่แพทย์ส่วนใหญ่ได้ยืนยันว่าประมาณ90เปอร์เซ็น เกิดจากการเป็นหมันที่รักษายากของฝ่ายหญิงทำให้ท่อรังไข่เกิดการอุดตันเป็นผลให้ตัวสเปิร์มไม่สามารถเข้าไปผสมกับไข่ได้โดยการสืบพันธุ์ทางธรรมชาติหรือบางที่อาจจะเกิดจากการที่ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อต้านบริเวณปากมดลูกและช่องสังวาสเป็นผลให้สเปิร์มหรือไข่ที่ผสมแล้วนั้น ตายก่อนที่จะไปเกาะที่ผนังมดลูก หรือบางทีอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆอีกมากมายซึ่งแพทย์ได้พยายามใช้วิธีการรักษาแล้วแต่ก็ไม่เป็นผลจึงต้องอาศัยการผสมเทียมภายนอกมดลูก หรือที่รู้จักกันในคำว่า (เด็กหลอดแก้ว)

การผสมเทียมภายนอกมดลูก(เด็กหลอดแก้ว)มีอยู่หลายรูปแบบด้วยกันทั้งที่เป็นที่อนุญาตและไม่เป็นที่อนุญาต ดังจะกล่าวต่อไปนี้คือ

รูปแบบที่หนึ่ง การนำเอาไข่ของภรรยามาผสมกับอสุจิของสามี แล้วนำสิ่งที่ผสมนั้นกลับไปฝังในมดลูกของภรรยา เพื่อให้เกิดวิวัฒนาการของการเจริญเติบโต

จากรูปแบบดังกล่าวนี้เมื่อมดลูกและรังไข่ของภรรยามีความสมบูรณ์แต่อาจจะเกิดความผิดปกติบางประการที่ไม่สามารถทำการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติหรือผสมเทียมภายในได้ซึ่งสาเหตุดังกล่าวอาจจะเกิดที่ท่อรังไข่หรือที่ปากมดลูกเกิดการผิดปกติ หรือความผิดปกติของสเปิร์มที่ไม่สามารถเข้าไปผสมกับไข่ได้ จึงเป็นผลให้ต้องทำการผสมเทียมภายนอกมดลูกขึ้น

รูปแบบของการทำเด็กหลอดแก้วรูปนี้ เป็นที่อนุญาตตามมติของ

นักนิติศาสตร์อิสลามส่วนใหญ่ใน4 มัซฮับ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้คือ

1.อสุจิของสามีนั้น ถือว่ามีเกียรติ (ถูกต้องตาม หลักการศาสนาทั้งในสภาพที่หลั่งออกมาผสมภายนอกมดลูกหรือนำเข้าไปผสมภายในมดลูก)

2.ไข่ของภรรยานั้น ถือว่าทีเกียรติในสภาพที่ผสมภายในหรือภายนอกมดลูก

3.มดลูกซึ่งที่จะต้องนำเอาไข่ที่ผสมแล้วไปไว้ภายใน คือมดลูกของภรรยา ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่มีเกียรติอีกเช่นเดียวกัน

จากวิธีการดังกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่าไม่มีบุคคลที่สามเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องของอสุจิไข่ และมดลูก ดังกล่าวนี้จึงเป็นการอนุญาตที่จะอาศัยวิธีการรักษาโดยการผสมเทียมให้กับสามีและภรรยาได้เพราะบุตรที่เกิดจากการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ ถือว่าเชื้อสายของบุตรนั้นถูกต้องตามบทบัญญัติของศาสนา เพราะอสุจิที่ผสมกับไข่นั้นทำให้เกิดบุตรที่เกิดจากการเกี่ยวพันทางแต่งงาน ดังนั้นฮุกุ่มกล่าวนี้จึงอนุญาต

รูปแบบที่สอง การนำเอาไข่ของหญิงอื่นมาผสมกับอสุจิของสามีแล้วนำสิ่งที่ผสมนั้นกลับไปฝังในมดลูกของภรรยา

จากรูปแบบดังกล่าวนี้คือ ภรรยาไม่มีรังไข่หรือมีรังไข่ แต่เกิดอุปสรรคด้วยการผิดปกติจากการที่จะปล่อยของเหลวออกมาจากไข่ได้ ทั้งๆที่มดลูกของภรรยานั้นสมบูรณ์ อสุจิของสามีก็มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะรับการผสม ดังนั้นภรรยาจึงต้องอาศัยไข่ของหญิงอื่นเพื่อที่จะนำการผสมเทียมกับอสุจิของสามแล้วนำไปฝังในมดลูกของภรรยา เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโต จากวิธีการดังกล่าว นักนิติศาสตร์อิสลามส่วนใหญ่มีความเห็นว่าไม่เป็นที่อนุญาตด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1.ถือว่าอสุจิของสามีนั้นไม่มีเกียรติทั้งในสภาพที่หลั่งออกมาผสมภายนอกหรือนำเข้าไปผสมกับไข่ภายในมดลูกก็ตามและบุตรที่เกิดมานั้น ก็ไม่ใช่บุตรของสามี

2. ถือว่าไข่ของหญิงอื่นนั้นไม่มีเกียรติ และบุตรที่เกิดมานั้น ก็ไม่ไข่บุตรของภรรยา

3.การนำเอาอสุจิของสามีมาผสมกับไข่ของหญิงอื่นถือว่าเป็นการประกอบการซินาซึ่งผิดบทบัญญัติอิสลาม ถึงแม้ว่าภรรยาจะยินยอมก็ตาม

จากรูปแบบดังกล่าวนี้ การหลั่งอสุจิออกมานั้นเจตนาที่จะทำการผสมกับไข่ของหญิงอื่นคือเจตนาที่ทำการซินา จึงถือว่าไม่อนุญาต และบุตรที่เกิดมานั้น ก็มีไช่เชื้อสายของสามีและภรรยาด้วย

รูปแบบที่สาม การนำเอาไข่ของหญิงอื่นมากับอสุจิของชายอื่นแล้วนำเอาสิ่งที่ผสมนั้นกลับไปฝังในมดลูกของหญิงอื่น

จากรูปแบบดังกล่าวนี้บุคคลทั้งสามนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกันตามบทบัญญัติอิสลาม เพราะอสุจิเป็นของผู้อื่น ไข่เป็นของผู้อื่น และมดลูกก็เป็นของผู้อื่น ดังนั้นจากรูปแบบที่สอง ถึงแม้ว่าจะมีความเกี่ยวพันกันทางด้านการแต่งงานระหว่างสามีซึ่งเป็นเจ้าของน้ำอสุจิและภรรยาซึ่งเป็นเจ้าของมดลูก แต่ก็มีบุคคลที่สาม ซึ่งเป็นเจ้าของไข่เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นว่า การผสมเทียมรูปแบบที่สามนี้ ไม่มีบุคคลใดที่เกี่ยวพันกันทางด้านแต่งงานเลยจึงเป็นเรื่องต้องห้ามอย่างชัดเจน โดยอาศัยหลักฐานจากรูปแบบที่สอง

รูปแบบที่สี่ การนำเอาไข่ของภรรยามาผสมกับอสุจิชายอื่น แล้วนำสิ่งที่ผสมนั้นกลับไปฝังในมดลูกของภรรยา

จากรูปแบบดังกล่าวนี้คือรังไข่และมดลูกของภรรยานั้นสมบูรณ์ แต่ไม่อาจที่จะสืบพันธุ์ตามธรรมชาติได้ เนื่องจากสามีหมดสมรรถภาพทางเพศหรือไม่มีน้ำอสุจิ ดังนั้นทั้งสามีและภรรยาจึงต้อง อาศัยน้ำอสุจิของผู้อื่นที่ถูกเก็บไว้ในห้องแล็ปหรือธนาคารที่เก็บรักษาอสุจิ เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งนำอสุจิที่สมบูรณ์และแข็งแรง เพื่อที่จะนำมาผสมเทียมกับไข่ของภรรยาแล้วนำกลับไปฝังในมดลูกของภรรยา จากรูปดังกล่าวนี้ อิสลามถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม(ฮะรอม) เพราะถือว่าเป็นการทำกิจอนาจาร(ซินา)

รูปแบบที่ห้า การนำเอาไข่ของหญิงอื่นมาผสมกับอสุจิของสามี แล้วนำสิ่งที่ผสมนั้นกลับไปฝังในมดลูกของหญิงที่เป็นเจ้าของไข่

จากรูปแบบดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นที่อนุญาตอย่างชัดเจน เพราะจากรูปแบบที่สองที่ผ่านมา การผสมเทียมโดยใช้ไข่ของหญิงอื่นกับอสุจิของสามีแล้วนำสิ่งที่ผสมได้นั้นกลับไปฝังในมดลูกของภรรยา เป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตจึงเป็นผลให้รูปแบบที่ห้านี้ ก็ไม่เป็นที่อนุญาตอีกเช่นเดียวกัน

รูปแบบที่หก การนำเอาไข่ของภรรยามาผสมกับอสุจิของชายอื่น แล้วนำสิ่งที่ผสมได้นั้นกลับไปฝังในมดลูกของหญิงอื่น

จากรูปแบบดังกล่าวนี้คือสามีเป็นหมันส่วนภรรยานั้นมดลูกไม่สมบูรณ์ซึ่งก็คล้ายคลึงกับรูปแบบที่สี่ ดังนั้นจึงต้องนำเอาไข่ของภรรยามาผสมกับอสุจิของชายอื่น แล้วนำสิ่งที่ผสมได้นั้นกลับไปฝังในมดลูกของหญิงอื่น จึงไม่เป็นที่อนุญาตอีกเช่นเดียวกัน เพราะในรูปแบบที่สี่และรูปที่หก จะเหมือนกันแต่ต่างกันตรงที่ว่า รูปแบบที่หกนั้นเอาสิ่งที่ได้จากการผสมนั้นกลับไปฝังในมดลูกของหญิงอื่น ส่วนรูปแบบที่สี่นั้น เอาสิ่งที่ได้จากการผสมนั้นกลับไปฝังในมดลูกของภรรยา จึงเป็นที่ต้องห้าม(ฮะรอม) และส่งผลให้รูปแบบที่หกเป็นที่ต้องห้าม(ฮะรอม)ไปด้วย

รูปแบบที่เจ็ด การนำเอาไข่ของผู้หญิงอื่นมาผสมกับอสุจิของชายอื่นแล้วนำเอาสิ่งที่ผสมได้นั้น กลับไปฝังในมดลูกของภรรยา

รูปแบบนี้เป็นที่ต้องห้ามเช่นเดียวกับรูปแบบที่สาม เพราะบุตรที่เกิดขึ้นมานั้นถือว่าเป็นบุตรบุญธรรมของสามีภรรยา ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ต้องห้าม(ฮะรอม) ตามบทบัญญัติอิสลามเพราะบุตรบุญธรรมเกิดขึ้นมาในสมัยญาฮิลียะห์(ยุคก่อนอิสลาม)เมื่ออิสลามได้มีมา อัลลอฮ์ซุบฮ์ฯ ได้ลงบทบัญญัติยกเลิกเรื่องของบุตรบุญธรรมแล้ว

รูปแบบที่แปด การนำเอาไข่ของภรรยามาผสมกับอสุจิของสามีที่หย่าหรือเสียชีวิตจากภรรยา แล้วนำสิ่งที่ผสมได้นั้นกลับไปฝังในมดลูกของภรรยา

จากรูปแบบดังกล่าวนี้ สามีมีอสุจิที่ถูกเก็บรักษาไว้ในธนาคาร

อสุจิ หรือทั้งสามีและภรรยาที่ไข่และอสุจิที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วหรือมีตัวอ่อนที่แข็งที่ถูกเก็บรักษาไว้ ดังนั้นภรรยาได้ให้แพทย์ดำเนินการผสมเทียมโดยการนำเอาอสุจิของสามีที่ถูกเก็บรักษาไว้มาผสมกับไข่ของนางภายหลังจากหย่าหรือการเสียชีวิตของสามีแล้วนำกลับไปฝังในมดลูกของนาง หรือภรรยาใช้ดำเนินการฝังเซลล์ที่แช่แข็งเก็บไว้ ซึ่งผสมกันระหว่างไข่ของภรรยากับอสุจิของสามีโดยฝังมดลูกของนางเพื่อให้มีวิวัฒนาการเจริญเติบโตจนกระทั่งคลอด

จากเรื่องกล่าวดังนี้มีประเด็นที่จะต้องพิจาณาสองประเด็นคือ

ประเด็นที่1 การนำเอาไข่ของภรรยามาผสมกับอสุจิของสามีที่ถูกเก็บรักษาไว้หลังจากสามีเสียชีวิตลงหรือหลังจากภรรยาถูกสามีหย่า ดังนั้นนักนิติศาสตร์อิสลามมีความเห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นที่อนุญาตเพราะความสัมพันธุ์ระหว่างการเป็นสามีภรรยาได้สิ้นลงด้วยการที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้เสียชีวิตลง เช่นเดียวกันกับกรณีความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายกับทาส ซึ่งสิ้นสุดด้วยการที่ทาสจะเป็นอิสระได้ด้วยการที่เจ้านายเสียชีวิต(สรุปมาจาก หนังสือ "นิฮายะตุลมุฮตาจ์" เล่มที่8หน้า430)

อย่างไรก็ตามถึงแม้การผสมเทียมรูปดังกล่าวนี้จะไม่เป็นที่อนุญาตแต่นักนิติศาสตร์อิสลามในมัซฮับชาฟีอีก็ยืนยันว่าทายาทนั้นเป็นทายาทของเจ้านาย ทั้งๆที่การนำเอาอสุจิของเขามาผสมภายหลังจากนายเสียชีวิตแล้วก็ตามโดยมี2เหตุผลคือ

1.อสุจิที่หลั่งออกมานั้นถือว่ามีเกียรติ ถึงแม้ว่าจะเป็นการหลั่งออกมาผสมภายนอกก็ตาม

2.การที่ไม่มีทายาทอาจจะเกิดขึ้นในขณะที่เจ้านายมีชีวิตอยู่แต่ทายาทอาจจะเกิดขึ้นหลังจากเขาเสียชีวิตแล้วก็ได้ด้วยกับอสุจิของเขาที่มีอยู่ดังนั้นการมีอสุจิของเขาก็เหมือนกับการมีเขา

ด้วยกับเหตุผลดังกล่าวนี้ นักนิติศาสตร์อิสลามจึงยืนยันว่าทารกที่คลอดมาจากการผสมเทียมระหว่างไข่ของทาสกับอสุจิของเจ้านายเป็นทายาทของเขาหลังจากเขาเสียชีวิตและมีสิทธิ์ที่จะได้รับมรดกของเขาด้วย ซึ่งเป็นกรณีเดียวกันกับที่คนอิสระที่เป็นสามีภรรยากันดังนั้นทายาทที่เกิดจากการผสมเทียมดังกล่าวภายหลังจากที่สามีเสียชีวิตจึงเป็นทายาทของทั้งสอง

ประเด็นที่2 เมื่อสามีและภรรยาทีอสุจิผสมกับไข่แล้วหรือมีตัวอ่อนที่แช่แข็งถูกเก็บรักษาไว้ และภรรยาได้นำเอามันมาฝังไว้ในมดลูก เพื่อที่จะให้มีวิวัฒนาการของการเจริญเติบโตจนกระทั่งคลอด

นักนิติศาสตร์อิสลามมีความเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่เป็นที่อนุญาต เพราะความ

สัมพันธ์ของการเป็นสามีภรรยาได้สิ้นสุดลงแล้วในขณะที่สามีตาย หรือภรรยาถูกหย่าแต่เมื่อภรรยานำเอาตัวอ่อนไปฝังในมดลูกจนกระทั่งคลอด ทายาทที่เกิดมานั้นถือเป็นบุตรของเขาทั้งสอง และมีสิทธิรับมรดกของทั้งสอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้คือ

1.น้ำอสุจิและไข่ที่ผสมกันนั้นมีผลทำให้เกิดทายาท จะโดยการหลั่งออกมาผสมภายนอกหรือนำเข้าไปผสมกับไข่ภายในก็ตามถือว่ามีเกียรติ ดังนั้นไข่ที่ผสมแล้วจะมีผลทำให้เกิดทารกในสภาพที่ยังมีความสัมพันธ์สามีภรรยาอยู่ และการมีไข่ที่ได้ผสมแล้วก็เหมือนกับการมีสามี

2.ความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยานั้น ถึงแม้จะสิ้นสุดลงด้วยกับการเสียชีวิตก็ตามแต่จะยังไม่เป็นการสิ้นสุดลงในทันที เนื่องจากภรรยาที่สามีเสียชีวิตนั้นมีความแตกตางกับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาไม่ว่าสภาพใดก็ตาม

นักนิติศาสตร์อิสลามมีความเห็นสอดคล้องกันว่า อนุญาต ให้ภรรยาอาบน้ำศพให้แก่สามีของนางที่เสียชีวิตได้ แต่การกระทำดังกล่าวไม่อนุญาตสำหรับหญิงอื่น ถึงแม้ว่าจะเป็นบุตรสาวก็ตามเช่นเดียวกันก็อนุญาตให้สามีอาบน้ำศพให้กับภรรยาของเขาได้นอกจากท่านอบูฮานีฟะห์ และรายงานหนึ่งจากอะหมัดที่ไม่อนุญาต

สำหรับหญิงที่ถูกหย่าแบบคืนดีกันได้ในช่วงมีอิดดะห์(ร็อจอี)อนุญาตให้นางทำการอาบน้ำศพให้แก่สามี เพราะการแต่งงานนั้นไม่ได้สิ้นสุดลงด้วยการหย่าแบบร็อจอีเนื่องจากว่าอนุญาตให้แก่ทั้งสองฝ่ายมองสัมผัสหรือหาความสุขต่อกันได้ในขณะที่เสียชีวิตแล้วในการที่จะมองหรือทำการอาบน้ำศพให้แก่กัน

ส่วนการหย่าแบบไม่สามารถกลับมาคืนดีกันได้(บาเอ็น) ไม่อนุญาตให้ภรรยาอาบน้ำศพให้แก่สามีที่เสียชีวิตถึงแม้ว่านางจะอยู่ในช่วงอิดดะห์บาเอ็นก็ตามเพราะการแต่งงานนั้นได้สิ้นสุดลงในขณะที่เขากล่าวคำหย่าครั้งที่3

ส่วนในเรื่องของทายาทที่จะให้มีการดำเนินการผสมเทียมเกิดขึ้นนั้น ภายหลังจากสามีเสียชีวิตแล้ว นักนิติศาสตร์อิสลาม มีความเห็นว่า

1.ไม่อนุญาตให้นำเอาน้ำอสุจิของสามีที่ถูกเก็บรักษาไว้ในธนาคารอสุจิออกมาผสมกับไข่ของภรรยา ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังจากภรรยาหมดอิดดะห์อันเนื่องมาจากสามีเสียชีวิต (4เดือน 10วัน) เพราะสถานภาพของการเป็นสามีภรรยาได้สิ้นสุดลงแล้วด้วยการเสียชีวิตดังนั้นน้ำอสุจิดังกล่าวจึงถือว่าไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติที่จะนำไปผสมเทียมและฝังในมดลูกอันเนื่องมาจากภรรยามิได้อยู่ในสถานภาพของภรรยาแล้ว(อสุจิที่ออกมาในขณะที่ยังคงสถานภาพสามีภรรยาอยู่ถือว่ามีเกียรติถูกต้องตามหลักการส่วนการที่จะนำเอาอสุจิมาผสมและฝังในมดลูกภายหลังจากการสิ้นสุดสถานภาพของการเป็นสามีภรรยากันแล้ว ถือว่าไม่มีเกียรติ ไม่ถูกต้องตามหลักการ)

2.น้ำอสุจิหรือไข่ที่ผสมแล้วที่ถูกเก็บรักษาไว้ในธนาคารอสุจิ จำเป็นจะต้องนำเอาออกมาจากสถานที่ดังกล่าวภายหลังจากการที่ความสัมพันธ์ของสามีภรรยาได้สิ้นสุดลงด้วยสาเหตุของการเสียชีวิต การหย่า การแยกทางกันหรือสาเหตุอื่นใดก็ตามเพื่อที่จะให้ชีวิตของเซลล์นั้นได้สิ้นสุดลงตามธรรมชาติของมัน เช่นเดียวกันกับการสิ้นสุดการเป็นสามีภรรยากันซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้จะได้หลุดพ้นจากปัญหาที่มีการขัดแย้งกันอย่างมากมายไม่มีที่สิ้นสุดอีกทั้งเป็นการป้องกันและรักษาสายเลือดให้พ้นจากสื่อต่างๆที่จะนำไปสู่ความชั่ว

หากมีการฝ่าฝืนโดยดำเนินการผสมเทียม บุตรที่ถือกำเนิดขึ้นมานั้นถือเป็นทายาทของสามีที่หย่ากับภรรยา หรือเป็นทายาทของสามีที่เสียชีวิตด้วยเหตุผลที่ว่า เซลล์ของทารกที่เกิดมาจากอสุจิที่ผสมกับไข่แล้ว(เซลล์ที่สมบูรณ์)ในระหว่างที่สามีภรรยายังคงมีสถานภาพการเป็นสามีภรรยากันอยู่ โดยที่ยังไม่ได้ฝังเซลล์นั้นลงในมดลูกของภรรยา ซึ่งเซลล์ดังกล่าวนั้น อาจเกิดการทีปฏิกิริยากันอยู่ โดยที่ยังไม่ได้ฝังเซลล์นั้นลงในมดลูกของภรรยา ซึ่งเซลล์ดังกล่าวนั้น อาจเกิดการมีปฏิกิริยาตัวเกิดขึ้น หากปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมเซลล์ที่เกิดการขยายตัวนั้นคือจุดกำเนิดชีวิตของทารก ดังการมีจุดกำเนิดของการมีเซลล์ที่มีชีวิตเป็นทารก ก็เหมือนกับการมีทารกนั้นเอง.

ليست هناك تعليقات:

إرسال تعليق