الأربعاء، 31 ديسمبر 2008

เมฆ ภูเขา น้ำจืด

เมฆ ภูเขา น้ำจีด (ฝน 4)




เขียนโดย อิบรอเฮม หะยีสาอิ
Wednesday, 06 August 2008
وَجَعَلْنَا فِيهَا رَوَاسِيَ شَامِخَاتٍ وَأَسْقَيْنَاكُم مَّاء فُرَاتاً

ความว่า : และในแผ่นดินเราได้ตั้งภูเขาไว้สูงตะหง่าน และเราได้ให้พวกเจ้าดื่มน้ำจืดสนิท (อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-มุรซาลาต 77/27)


นักอรรถาธิบายได้ให้ความหมายของคำในอายัตนี้ว่า
رَوَاسِيَ หมายถึง มันคงอยู่กับที่ นั้นคือ ภูเขา
شَامِخَاتٍ หมายถึง ความความยาวและสูง z
رَوَاسِيَ شَامِخَاتٍ หมายถึง ภูเขาที่สูงยาว
مَّاء فُرَاتاً หมายถึง น้ำจืด

บนพื้นแผ่นดินที่มีภูเขาสูงยาวนั้น จะมีหน้าที่ในหลายๆอย่างที่ให้ประโยชน์แก่ชาวโลก และหนึ่งในนั้นอัลลอฮฺได้ให้น้ำจืดที่จำเป็นแก่ชีวิตไหลออกมาจากมัน ทั้งในรูปตาน้ำหรือลำธารต่างๆ

จากสี่อายัตที่กล่าวมาในตอนต้น(ตอนที่ 1) ทำให้เข้าใจในกระบวนการเกิดฝน ดังนี้ :
- เมฆ (سحاب) มี 2 ชนิด คือ
1. เมฆรุกาม(ركام) มีลักษณะคล้ายภูเขา อัลลอฮฺให้เกิดฝน ลูกเห็บ และฟ้าร้อง ฟ้าแลบจากก้อนเมฆ ชนิดนี้
2. เมฆบะสาเตาะฮฺ(بساطة) มีลักษณะแผ่กระจายเป็นวงกว้างตามกระแสลม และจะมีฝนตกลงมาจากเมฆชนิดนี้เช่นกัน แต่อัลกุรอานไม่ได้กล่าวถึงฟ้าร้อง ฟ้าแลบ ที่เกิดมาพร้อมกับเมฆชนิดนี้
ในทางวิทยาศาสตร์ ได้แบ่งเมฆตามธรรมชาติออกเป็น 2 ชนิดเช่นเดียวกัน คือ เมฆก้อน และเมฆแผ่น เราเรียกเมฆก้อนว่า “เมฆคิวมูลัส” (Cumulus) และเรียกเมฆแผ่นว่า “เมฆสเตรตัส” (Stratus) หากเมฆก้อนลอยชิดติดกัน เรานำชื่อทั้งสองมารวมกัน และเรียกว่า “เมฆสเตรโตคิวมูลัส” (Stratocumulus) ในกรณีที่เป็นเมฆฝน จะเพิ่มคำว่า “นิมโบ” หรือ “นิมบัส” ซึ่งแปลว่า “ฝน” เข้าไป เช่น เรียกเมฆก้อนที่มีฝนตกว่า “เมฆคิวมูโลนิมบัส” (Cumulonimbus) และเรียกเมฆแผ่นที่มีฝนตกว่า “เมฆนิมโบสเตรตัส” (Nimbostratus)

เมฆคิวมูลัส (Cumulus)เมฆก้อนปุกปุย สีขาวเป็นรูปกะหล่ำ ก่อตัวในแนวตั้ง เกิดขึ้นจากอากาศไม่มีเสถียรภาพ ฐานเมฆเป็นสีเทาเนื่องจากมีความหนามากพอที่จะบดบังแสง จนทำให้เกิดเงา มักปรากฏให้เห็นเวลาอากาศดี ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเข้ม

เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus)เมฆก่อตัวในแนวตั้ง พัฒนามาจากเมฆคิวมูลัส มีขนาดใหญ่มากปกคลุมพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
เมฆสเตรตัส (Stratus)เมฆแผ่นบาง ลอยสูงเหนือพื้นไม่มากนัก เช่น ลอยปกคลุมยอดเขามักเกิดขึ้นตอนเช้า หรือหลังฝนตก บางครั้งลอยต่ำปกคลุมพื้นดิน เราเรียกว่า “หมอก”

เมฆนิมโบสเตรตัส (Nimbostratus)เมฆแผ่นสีเทา เกิดขึ้นเวลาที่อากาศมีเสถียรภาพ ทำให้เกิดฝนพรำๆ ฝนผ่าน หรือฝนตกแดดออก ไม่มีพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าร้องฟ้าผ่ามักปรากฏให้เห็นสายฝนตกลงมาจากฐานเมฆ
ชนิดของเมฆ * - ลม (رياح) เป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้เกิดฝน เมื่อน้ำได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์จนมีพลังงานมากพอที่จะเปลี่ยนสถานะตัวเองกลายเป็นไอน้ำ และระเหยขึ้นในบรรยากาศ เมื่อไอน้ำรวตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเรียกว่า เมฆ
ไอน้ำในอากาศรวมตัวกัน มีสาเหตุหลัก ๆ อยู่ 3 ประการคือ
1. เกิดจากการชนกันของก้อนเมฆ เนื่องจากละอองน้ำมีขนาดต่าง ๆ กัน เมื่ออากาศแปรปรวน ละอองน้ำเล็ก ๆ จะวิ่งชนกันแล้วรวมตัวมีขนาดใหญ่ขึ้น
2. เกิดจากการเกิดฟ้าแลบที่ทำให้ประจุไฟฟ้า ( บวกและลบ ) ในละอองน้ำจะดึงดูดซึ่งกันและกัน แล้วรวมตัวมากขึ้นจนกลายเป็นกลุ่มเมฆ
3. เกิดจากการที่ผลึกน้ำแข็งที่ปนอยู่ในอากาศ เป็นแกนในการดูดไอน้ำและละอองน้ำให้รวมตัวกลายเป็นเมฆขึ้นมาได้

การวิ่งชนกันของละอองน้ำในก้อนเมฆเกิดได้สองกรณี
กรณีแรก เกิดจากการที่ละอองน้ำในก้อนเมฆที่รวมตัวในแนวตั้ง ขนาดของละอองน้ำจะไม่เท่ากัน ดังนั้นความเร็วของละอองน้ำแต่ละขนาดแตกต่างกันนี้จะมีความแตกต่างกัน จะทำให้ชนกับละอองน้ำเม็ดอื่นๆ ขนาดของละอองน้ำก็จเพิ่มขึ้นและน้ำหนักก็เพิ่มขึ้นด้วย จนมีพลังงานมากพอที่จะตกลงมาเป็นเม็ดฝน
การหล่นของหยดน้ำขนาดเท่ากัน (ซ้าย) และขนาดแตกต่างกัน (ขวา)
กรณีที่สอง เกิดกระแสลมพัดพาทำให้เม็ดละอองน้ำวิ่งชนกัน จนมีขนาดพอที่จะเป็นหยดน้ำและตกลงสู่พื้นดินเป็นฝน
การเพิ่มขนาดของหยดน้ำในก้อนเมฆ

อัลลอฮฺได้ตรัสในสูเราะฮฺ อัลฮิจรฺ อายัตที่ 22 ว่า


وَأَرْسَلْنَا الرِّيَاحَ لَوَاقِحَ فَأَنزَلْنَا مِنَ السَّمَاءِ مَاءً فَأَسْقَيْنَاكُمُوهُ وَمَا أَنتُمْ لَهُ بِخَازِنِينَ

ความว่า : และเราได้ส่งลมผสมกัน แล้วเราได้ให้น้ำลงมาจากฟ้า แล้วเราได้ให้พวกเจ้าดื่มมัน และพวกเจ้าก็มิได้แป็นผู้สะสมมันไว้ (อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-ฮิจรฺ 24/22)

นอกจากลมช่วยในการรวมตัวของไอน้ำ ละอองน้ำและหยดน้ำแล้ว ลมยังช่วยในการพัดพาก้อนเมฆที่เต็มไปด้วยน้ำไปตกในที่ต่างๆ ให้น้ำจืดซึ่งเป็นน้ำหลักในการหล่อเลี้ยงชีวิตบนโลก
จำนวนน้ำที่จะใช้หล่อเลี้ยงชีวิตมีจำนวนมหาศาล มนุษย์แม้จะมีความสามารถขนาดไหน ก็ไม่สามารถที่จะกักเก็บน้ำจำนวนมหาศาลเหล่านั้นได้ ยิ่งถ้าต้องจ่ายน้ำเหล่านั้นไปยังที่ต่างๆ ทั้งในประเทศตนเองและในต่างประเทศด้วยแล้วยิ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่ด้วยความปรีชาสามารถของอัลลอฮฺ อัลลอฮฺได้กักเก็บน้ำมหาศาลเหล่านั้นในรูปของไอน้ำในชั้นบรรยาการศ และให้ลมพัดพาไปยังที่ต่างๆที่พระองค์ทรงประสงค์ และทำให้มันควบแน่นปล่อยเป็นหยดน้ำฝนที่ให้ชีวิตแก่โลก โดยไม่มีผู้ใดสามารถยับยั้งความประสงค์ของพระองค์ได้ด้วย
- ภูเขา (جبال : رواسي شامخات) หมายถึงภูเขาที่สูงยาว มีหน้าที่ 2 ลักษณะ คือ
1. ความสูงของภูเขา ภูเขายิ่งสูงอากาศบนยอดเขาจะยิ่งลดลง ดังนั้นภูเขาสูงๆบรรยากาศของยอดเขาสามารถที่จะเปลียนสถานะของไอน้ำให้กลายเป็นละอองน้ำหรือหยดน้ำ ทำให้ภูเขาสูงๆหลายแห่งมีน้ำไหลตลอดปี
2. เป็นแหล่งน้ำจืด เมื่อน้ำฝนที่ตกลงมาบนภูเขาก็จะซึมซับน้ำสู่พื้นดิน ไหลลงไปยังตีนเขาเป็นคู คลอง หรือแม่น้ำ พร้อมซับเข้าไปในดินเป็นน้ำใต้ดิน และไหลออกมาทางตาน้ำ ให้มนุษย์ สัตว์ และพืช ได้ใช้ประโยชน์จากมัน


وَهُوَ الَّذِي يُرْسِلُ الرِّيَاحَ بُشْراً بَيْنَ يَدَيْ رَحْمَتِهِ حَتَّى إِذَا أَقَلَّتْ سَحَاباً ثِقَالاً سُقْنَاهُ لِبَلَدٍ مَّيِّتٍ فَأَنزَلْنَا بِهِ الْمَاء فَأَخْرَجْنَا بِهِ مِن كُلِّ الثَّمَرَاتِ كَذَلِكَ نُخْرِجُ الْموْتَى لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُون
“และพระองค์อัลลอฮฺนั้นคือผู้ที่ทรงส่งลมมาเป็นข่าวดีเบื้องหน้าความเอ็นดูเมตตาของพระองค์ จนกระทั่งเมื่อมันได้แบกเมฆ อันหนักอึ้งไว้ เราก็นำมันไปสู่ เมืองที่แห้งแล้ง แล้วเราก็ให้น้ำหลั่งลงที่เมืองนั้น แล้วเราได้ให้ผลไม้ทุกชนิดออกมาด้วยน้ำนั้น ในทำนองนั้นแหละเราจะให้บรรดาผู้ที่ตายแล้วออกมา หวังว่าพวกเจ้าจะได้รำลึก” (สูเราะห์ อัล-อะอฺรอฟ 7/57)


--------------------------
* http://www.lesa.in.th/atmosphere/cloud_precip/cloud_precip/cloud_precip.htm

ليست هناك تعليقات:

إرسال تعليق