الأربعاء، 31 ديسمبر 2008

หู ตา อะไรสำคัญกว่า?

หู ตา อะไรสำคัญกว่า




เขียนโดย อิบรอเฮม หะยีสาอิ
Friday, 12 September 2008
หู กับ ตา : อะไรสำคัญกว่า ??เป็นคำถามที่ถามขึ้นไม่ใช่เพื่อต้องการเอาชนะ หรือต้องการคำตอบ แต่เป็นคำถามที่ถามขึ้นเพื่อให้ศึกษาในเรื่องที่เร้นลับที่อยู่ในตัวเรา
จากการวิจัยเกี่ยวกับการใช้อวัยวะสัมผัสเพื่อการรับรู้ทั้งห้าของมนุษย์ พบว่า จะมีปริมาณการรับรู้ที่แตกต่างกัน ดังนี้
ตา (การมองเห็น) รับรู้ 75 %
หู (การได้ยิน) รับรู้ 13 %
จมูก (การดมกลิ่น) รับรู้ 3 %
ลิ้น (การรับรส) รับรู้ 3 %
กาย (การสัมผัส) รับรู้ 6 %
แน่นอนจากบทสรุปของการวิจัยชิ้นนี้ทำให้เราเข้าใจในทันทีว่าอวัยวะสัมผัสที่สำคัญที่สุดสำหรับการรับรู้ของมนุษย์คือ ตา และ หู มาเป็นอันดับสอง
ก็น่าจะตอบ ตา สำคัญ กว่า หู...
แต่น่าจะมีหลายคนที่ไม่เห็นด้วย ผมก็คนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยถ้าจะตอบเช่นนั้น จริงอยู่การรับรู้สัมผัสทางอวัยวะที่เราเรียกว่า ตา จะมีมากที่สุดแต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ตา สำคัญกว่าอวัยวะอื่นๆ อุลามาอฺ(ผู้รู้)หลายคนที่เก่งมากๆ ในศาสนาอิสลามมีอยู่หลายคน เช่น อิบนุมัคตูมในสมัยนบี หรือ เชคอับดุลอาซิซ อิบนุ บาซ (หรือที่รู้จักในชื่อ เชคบินบาซ) ในยุคปัจจุบัน(ท่านเสียชีวิตแล้ว ผลงานของท่านและเว็บไซด์ของท่านยังมีให้เราได้ศึกษา) เป็นคนเก่งมากๆคนหนึ่ง จนเป็นที่ยอมรับของมุสลิมส่วนใหญ่ ท่านตาบอด มองไม่เห็น การเป็นคนตาบอดของท่านไม่ได้มีผลต่อการเรียนรู้เลย

อัลกุรอาน เป็นแหล่งความรู้หลักที่ไม่สามารถปฏิเสธหรือคัดค้านได้ .. ได้จัดเรียงลำดับก่อนหลังในการกล่าวถึงเกี่ยวกับการได้ยินและการได้เห็น ดังนี้
وَاللّهُ أَخْرَجَكُم مِّن بُطُونِ أُمَّهَاتِكُمْ لاَ تَعْلَمُونَ شَيْئاً وَجَعَلَ لَكُمُ الْسَّمْعَ وَالأَبْصَارَ وَالأَفْئِدَةَ لَعَلَّكُمْ تَشْكُرُونَ
ความว่า : และอัลลอฮ์ทรงให้พวกเจ้าออกจากครรภ์มารดาของพวกเจ้า โดยพวกเจ้าไม่รู้อะไรเลย และพระองค์ทรงทำให้พวกเจ้าได้ยินและได้เห็นและมีจิตใจ เพื่อพวกเจ้าจะได้ขอบคุณ (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัน-นะหฺลิ 16/78)
มนุษย์คลอดออกมาจากท้องแม่ แน่นอนไม่มีความรู้ใดๆติดตัวมาเลย และเราได้ยินครูที่ให้กำลังใจแก่ลูกศิษย์ที่ท้อกับการเรียนบ่อยๆว่า ไม่มีใครรู้มาแต่กำเนิดหรอก.. หรือไม่มีใครเก่งมาแต่เกิดหรอก...
เพราะเรา มี หู มี ตา และ มี จิต เราถึงได้เป็นคนอย่างที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ เก่งและไม่เก่งอยู่ที่ความพยายามและพันธุกรรมของแต่ละคนซึ่งอัลลอฮฺได้ให้ความแตกต่างกันมา
ในอายัตที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ชัดว่า อัลลอฮฺ ได้ตรัสถึงคำว่า الْسَّمْعَ (การได้ยิน) ก่อนคำَالأَبْصَار َ (การได้เห็น)
นักอรรถาธิบายอัลกุรอานบางท่าน ได้พยายามพูดเรื่องนี้ว่า ที่อัลลอฮฺได้ให้ความสำคัญแก่การได้ยินมากกว่าการมองเห็นเพราะการได้ยินนั้นสามารถได้ยินในทุกทิศ และที่สำคัญเป็นประสาทสัมผัสที่รับรู้วะฮฺยีย์(โองการของอัลลอฮฺ)
แต่ก็มีหลายคนไม่เห็นด้วย อย่างเช่น
อัลกุรฏูบีย์ ได้กล่าวในหนังสืออรรถาธิบายของท่านว่า นักปราชญ์ส่วนใหญ่ได้ให้ความสำคัญแก่การมองเห็นมากกว่าการได้ยิน เพราะการได้ยินจะได้ยินเฉพาะเสียงและคำพูด ส่วนการมองเห็นนั้น จะเห็นรูปลักษณะ สีสัน และสถานการณ์
ในการเรียนการสอนพบว่า ในหลายครั้งการได้ยินมีความสำคัญมากกว่าการมองเห็น เพราะบางอย่าง เช่นถ้าจะสอนในสิ่งเร้นลับ เช่น ความศรัทธา เรื่อง นรก สวรรค์ เรื่องการเกิดใหม่ เราไม่สามารถที่จะให้เด็กมองเห็นด้วยตาได้ นอกจากการบอกเล่า หรืออ่านจากตัวหนังสือเท่านั้น ก็อย่างที่กล่าวถึงในตอนต้นว่า ผู้รอบรู้ในศาสนาอิสลามบางท่านนั้นตาบอด
อัลอาลูซีย์ ได้กล่าวในหนังสืออรรถาธิบายของท่านว่า
แท้จริงนั้นประสาทสัมผัสของเรานั้นมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ผู้ใดขาดประสาทสัมผัสก็ไม่สามารถเรียนรู้ได้
อัลกุรอาน ได้กล่าว การได้ยินก่อนการมองเห็น ทำให้อุลามาอฺหลายท่านให้ความเห็นว่า การได้ยินมีความสำคัญกว่าการมองเห็น โดยเฉพาะการศรัทธาในสิ่งเร้นลับจำเป็นที่ต้องอาศัยการได้ยินมากกว่าการมองเห็น
มีหลายอายัตในอัลกุรอานที่กล่าวถึงอวัยวะสัมผัสของการได้ยินและการมองเห็นโดยเรียงลำดับดังนี้

وَلَقَدْ ذَرَأْنَا لِجَهَنَّمَ كَثِيراً مِّنَ الْجِنِّ وَالإِنسِ لَهُمْ قُلُوبٌ لاَّ يَفْقَهُونَ بِهَا وَلَهُمْ أَعْيُنٌ لاَّ يُبْصِرُونَ بِهَا وَلَهُمْ آذَانٌ لاَّ يَسْمَعُونَ بِهَا أُوْلَـئِكَ كَالأَنْعَامِ بَلْ هُمْ أَضَلُّ أُوْلَـئِكَ هُمُ الْغَافِلُونَ (الأعراف : 179
ความว่า : และแน่นอนเราได้บังเกิดสำหรับญฮันนัม(*1*) ซึ่งมากมายจากญิน(*2*) และมนุษย์ โดยที่พวกเขามีหัวใจซึ่งพวกเขาไม่ใช้มันทำความเข้าใจและพวกเขามีตาซึ่งพวกเขาไม่ใช่มันมอง และพวกเขามีหูซึ่งพวกเขาไม่ใช้มันฟังชนเหล่านี้แหละประหนึ่งปศุสัตว์ ใช่แต่เท่านั้น พวกเขาเป็นผู้หลงผิดยิ่งกว่า ชนเหล่านี้แหละ พวกเขาคือผู้ทีเผลอเรอ(*3*) (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-อะรอฟ 7/179)
(1) คือชื่อนรกชุมหนึ่ง(2) ญินคือบ่าวของอัลลอฮ์ ประเภทหนึ่งซึ่งถูกบังเกิดขึ้นโดยมีหน้าที่ปฏิบัติเช่นเดียวกับมนุษย์ พวกมันเห็นมนุษย์ แต่มนุษย์ไม่เห็นพวกมันในรูปร่างอันแท้จริงของพวกมันได้ นอกจากในร่างที่มันจำแลงเท่ามัน และก็สามารถจำแลงตนให้เหมือนทุกสิ่งทุกอย่างได้นอกจากรูปร่างของท่านนะบีมูฮัมมัดเท่านั้น (3) คือเนื่องจากความไม่สนใจ เพราะไม่เชื่อว่าสิ่งที่ถูกชี้แจงแนะนำแก่พวกเขามาจากพระเจ้าของพวกเขา
ในอายัตนี้และอายัตอื่นๆอีกหลายแห่ง เมื่ออัลลอฮฺได้ตรัสถึงอวัยวะสัมผัสที่เป็นตาและหู ตาจะมาก่อนหูซึ่งตรงกันข้ามกับอายัตที่แล้วที่ตรัสถึงการได้ยินและการมองเห็น ประสาทรับรู้ที่เกี่ยวกับหูจะมาก่อนประสาทรู้สึกที่เกี่ยวกับตา ดังนั้น อุลามาอฺบางท่านจึงบอกว่า ด้วยเหตุนี้เราจึงจะนับว่า หู สำคัญกว่า ตา ไม่ได้
นักสรีระวิทยามุสลิมมีความเห็นว่า นี่คือ ความเร้นลับที่อยู่ในอัลกุรอานที่มนุษย์ควรศึกษา เขากลับมองไปว่า
ในอายัตแรก อัลกุรอานกล่าวถึง ประสาทสัมผัส แต่ในอายัตนี้ เป็นการกล่าวถึงอวัยวะสัมผัส ฉะนั้นตำแหน่งการกล่าวถึงในอัลกุรอานนั้นเป็นตำแหน่งที่อยู่จริงในตัวมนุษย์
ถ้าเป็นอวัยวะสัมผัส คือ ตา กับ หู ตาจะอยู่ข้างหน้าหู
แต่ถ้าเป็นประสาทสัมผัส เป็นสมองการรับรู้แล้ว สมองที่เป็นศูนย์กลางการได้ยินจะอยู่ด้านหน้า และสมองที่เป็นศูนย์กลางการมองเห็น จะอยู่ด้านหลัง ดังรูป

ليست هناك تعليقات:

إرسال تعليق